วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประมุขของประเทศในระบอบประชาธิปไตย

ประมุขของประเทศในระบอบประชาธิปไตย

 มีรูปแบบสำคัญ 2 แบบ คือ

1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและประธานาธิบดีเป้นประมุข
2) ประมุขจะใช้ใช้อำนาจตามที่รัฐกำหนดไว้
...โดยประเทศที่มีพระมหากษัตริยืทรงเป็นประมุข พระองคืจะทรงใช้อำนาจไตยผ่านสถาบันการปกครอง ได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล โดยที่นายรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร เช่น สหราชอาณาจักรไทย ไทย นอร์เวย์ สวีเดน เป็นต้น
การใช้อำนาจประชาธิปไตย
การปกครองระบอบการปกครอง ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์มิได้เป็นหัวหน้ารัฐบาล
1) การใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา รัฐสภามีโครงสร้าง 2 แบบ คือ
     (1.1) อำนาจที่ของรัฐสภา
     (1.2) อำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร์และวุฒิสภา
2) การใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
    (2.1) อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ
    (2.2) อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการแผ่นดิน
3) การใช้อำนาจตุลาการทางศาล
    (3.1) ศาลรัฐธรรมนูญ
    (3.2) ศาลยุตติธรรม
    (3.3) ศาลปกครอง
    (3.4) ศาลทหาร

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบของรัฐ


2. รูปแบบของรัฐ

   รูปแบบของรัฐแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบได้แก่
        1) เอกรัฐหรือรัฐเดี่ยว (unitary State or Single State) หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐเดียว
ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทั้งหมด อาจมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้บริหารกิจการของ
ท้องถิ่นได้ตามที่รัฐบาลเห็นสมควร
        2) สหพันธรัฐหรือรัฐรวม (Federal State or Dual State) หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลสองระดับ คือ รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ รัฐบาลแต่ละระดับจะใช้อำนาจอธิปไตยปกครองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ โดยทั้วไปรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐมักจะเป็นผู้ใช้อำนาจในกิจการที่เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

   
 การโคลนนิ่ง

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯเปิดเผยว่า การโคลนนิ่งมนุษย์ได้ถูกใช้ในการสร้างตัวอ่อนมนุษย์ได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นก้าวย่างสำคัญสำหรับวงการแพทย์ของโลก




โดยตัวอ่อนที่เกิดจากการโคลนนิ่งจะถูกใช้เป็นแหล่งของสเต็มเซลล์ ที่จะถูกนำไปสร้างกล้ามเนื้อหัวใจ กระดูก เนื้อเยื่อสมอง หรือเซลล์ชนิดอื่นๆภายในร่างกาย

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร"เซลล์" ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก โดยใช้เทคนิคเดียวกับการโคลนนิ่งแกะ"ดอลลี"  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรกของโลก ที่เกิดจากการโคลนนิ่งเมื่อปี 1996 ที่ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการใช้สเต็มเซลล์จากแหล่งอื่นๆอาจง่ายกว่า ถูกกว่า และสร้างข้อถกเถียงน้อยกว่าวิธีการเช่นนี้  ส่วนฝ่ายที่คัดค้านกล่าวว่า การทำการทดลองกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นเรื่องผิดศีลธรรมอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้มีการยกเลิก

สเต็มเซลล์เป็นหนึ่งในความหวังครั้งยิ่งใหญ่ของวงการแพทย์ ความสามารถในการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ได้อาจนำไปช่วยรักษาความเสียหายจากอาการหัวใจวาย หรือใช้ซ่อมแซมเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีการทดลองนำสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนที่มีผู้บริจาค เพื่อใช้ในการรักษาการมองเห็นของผู้ป่วย อย่างไรก็ดี พบว่าเซลล์ดังกล่าวไม่สามารถเข้ากับร่างกายของผู้ป่วยได้
 
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย โอเรกอน เฮลธ์ แอนด์ ไซแอนซ์ ยูนิเวอร์ซิตี้  เปิดเผยความสำเร็จในการโคลนนิ่งเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ได้เป็นครั้งแรก จากการพัฒนาตัวอ่อนให้เข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ หรือระยะก่อนที่จะฝังตัวกับมดลูก  หรือราว 150 เซลล์ ที่มากพอที่จะใช้เป็นแหล่งสเต็มเซลล์ที่ได้จากตัวอ่อนระยะแรกๆ

นายแพทย์ชูกราต มาตาลิพอฟ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแห่งชาติโอเรกอน เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์สเต็มเซลล์ที่ได้จากวิธีการดังกล่าวอย่างละเอียดถี่ถ้วน พบว่าสเต็มเซลล์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์หลายประเภทเช่นเดียวกับสเต็มเซลล์ที่ได้จากตัวอ่อนตามธรรมชาติอาทิเซลล์ประสาท เซลล์ตับ และเซลล์หัวใจ อย่างไรก็ดี วิธีการดังกล่าวยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก เพื่อให้ได้สเต็มเซลล์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ




วิธีการนี้คล้ายคลึงกับความสำเร็จของการโคลนนิ่งแกะ"ดอลลี"ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวแรกของโลกที่เกิดจากการโคลนนิ่งเมื่อ 17 ปีก่อน โดยการถ่ายฝากนิวเคลียสที่นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯใช้ คือ การนำเซลล์ผิวหนังทารกในครรภ์มารดา ซึ่งมีการพัฒนาเต็มที่แล้ว ฉีดเข้าไปในนิวเคลียสของไข่ ก่อนใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ทำให้ไข่เริ่มแบ่งตัว โดยกระบวนการดังกล่าว ตามปกติแล้วจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลาที่ไข่ได้ผสมกับตัวอสุจิแล้วเท่านั้น
 
หลังจากกระบวนการนี้สิ้นสุดลงในอีกหลายวันต่อมาก้อนเซลล์ที่แบ่งตัวออกมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรมแบบเดียวกับเซลล์ต้นแบบที่ใช้อย่างไม่ผิดเพี้ยน โดยในกรณีของการโคลนนิ่งแกะดอลลี นักวิทยาศาสตร์นำก้อนเซลล์ใหม่ที่ได้ ไปพัฒนาต่อเป็นตัวอ่อน และนำไปฝากในท้องของแกะตัวเมีย ก่อนคลอดออกมาเป็นแกะดอลลีในที่สุด

อย่างไรก็ดี ได้มีผู้ออกมาแสดงการคัดค้านวิธีการใหม่นี้เช่นกัน โดยแย้งว่าตัวอ่อนทุกประเภท ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือห้องทดลอง มีศักยภาพที่จะเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมอย่างยิ่งที่ทำการทดลองเช่นนี้กับมนุษย์




วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ





 ชื่อ  ด.ญ.  น้ำค้าง  เขียวหวาน 

ชื่อเล่น  อัง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2/1   เลขที่   28

โรงเรียนชุมชนบ้านพุเตย

เกิดเมื่อวันที่  4  พฤศจิกายน   พ.ศ.   2542

สีที่ชอบ  สีฟ้า  สีเขียว   

อาหารที่ชอบ  ข้าวมันไก่

วิชาที่ชอบ   ศิลปะ   สังคม

กีฬาที่ชอบ  ตะกร้อ

ผลไม้ที่ชอบ  ทุเรียน  

สัตว์ที่ชอบ  กระต่าย

เพื่อนสนิท

1.  ด.ญ. บุษยมาศ  ขำอดขำ

2.  ด.ญ. ปรียา   รัตนะ

3.  ด.ญ. น้ำค้าง  เขียวหวาน

4.  ด.ญ. นิจวิภา  กล้าหาญ

5.  ด.ญ. ศศิธร  หมั่นวงค์